ปัญหาสุดคลาสสิกที่ลูกค้ามักจะเจอกันก็คือ ผู้รับเหมาทิ้งงาน ทำไม่เสร็จก็มาหายหน้ากันไปเสียดื้อๆ ทำให้ทั้งเสียความรู้สึก และเสียเวลา แบบนี้ลูกค้าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง? วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเอาผิดกับผู้รับเหมาเบื้องต้น ในกรณีที่ทิ้งกันไว้กลางทาง รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ค่ะ
สาเหตุของปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน
สาเหตุของปัญหาเรื่องผู้รับเหมาทิ้งงานนั้น สามารถเลือกขึ้นได้หลายสาเหตุค่ะ และการทิ้งงานนั้น ไม่ได้มีแค่การทิ้งโครงสร้างบ้าน แบบที่ยังทำไม่เสร็จไว้เท่านั้น ยังรวมถึงปัญหารับเงินแล้วหนี การทำงานไม่เสร็จตามแผนที่วางไว้ หรือแม้แต่งานเสร็จแต่วัสดุก่อสร้างมีคุณภาพต่ำ ที่ไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาที่ต้องแก้ไม่จบไม่สิ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดจากการที่ลูกค้า เลือกไว้ใจจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือจ้างช่างรับเหมาทั่วไป ที่ไม่มีการรับรอง
โดยทั่วไปแล้ว การรับเหมาก่อสร้างจะมีการทำสัญญาจ้างงาน หรือสัญญาจ้างทำของ ตามหลักนิติกรรม และสัญญาทั่วไปก็คือ สัญญาที่ผู้รับจ้าง ตกลงว่าจะรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลหนึ่ง หรือผู้ว่าจ้าง โดยตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำ โดยสัญญาจ้างทำของ จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
- สัญญาจ้างทำของ เป็นสัญญาต่างตอบแทนคือ สัญญาจ้างที่ผู้รับจ้าง จะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้องให้สินจ้าง เพื่อผลงานนั้น โดยสินจ้างดังกล่าว อาจเป็นเงิน หรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้ ตามที่ตกลงกันก่อน ที่จะลงมือทำ
- สัญญาจ้างทำของ เป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ สัญญาฉบับนี้จะเน้นผลงานที่สำเร็จเป็นที่ตั้งเช่น การว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้าน รับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างว่าความ และเมื่อไม่ใช่การจ้างแบบใช้แรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะสั่งงานหรือบงการผู้รับจ้างได้
- สัญญาจ้างทำของ เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบหมายถึง สัญญาจ้างทำของที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาตกลงกัน อาจจะไม่มีการร่างสัญญาลงลายลักษณ์อักษร แค่พูดปากเปล่า
ช่างรับเหมาทิ้งงาน ไม่มีหนังสือสัญญา ฟ้องได้หรือไม่?
ในกรณีที่ลูกค้าว่างจ้างในช่างรับเหมา หรือบริษัทรับเหมาทิ้งงานไปนั้น ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่นไม่มาทำงานตามที่กำหนด หรือทำงานช้ามากๆ การเบิกเงินซื้อของแต่ไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ จนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายงอกตามมาด้วยอย่างมากมาย ทั้งหมดนี้ ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาของผู้รับเหมาก่อสร้าง ตามกฎหมายแล้วลูกค้าสามารถฟ้องร้องเอาผิดต่อผู้รับเหมานั้นๆ ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีหนังสือที่ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร
แต่ก็ว่าในความเป็นจริง การสัญญาปากเปล่า ก็ค่อนข้างเสี่ยงเวลามีปัญหา เพราะไม่มีหลักฐาน และยิ่งหากลูกค้าจ้างช่างรับเหมาก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่มีที่อยู่ หรือที่ตั้งของบริษัทที่ชัดเจน ก็ยิ่งตามตัวมาดำเนินคดียากมาก ทางที่ดีลูกค้าควรที่จะเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
มีการทำสัญญาว่าจ้างที่ลงลงลายมือชื่อ และระบุวันกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง วันกำหนดแล้วเสร็จ และรายละเอียดที่ระบุถึงการผิดสัญญา ที่ทางบริษัทจะต้องแสดงความรับผิดชอบ หากงานล่าช้า ไม่ต้องตามที่ตกลง รวมถึงการแจกแจงรายละเอียดของแบบการก่อสร้าง การใช้วัสดุ การแบ่งจ่ายค่าจ้างว่าจ่ายกี่งวด พร้อมลงวันที่ไว้จะง่ายมากกว่าค่ะ
อายุความ
หากมีการฟ้องร้องกัน คดีนี้จะมีอายุความ 2 ปี และการฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อให้ผู้รับจ้างผิดในความชำรุดบกพร่อง ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ข้อชำรุดบกพร่องนั้นๆ ปรากฏขึ้น
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำไมผู้รับเหมาถึงทิ้งงาน
วันนี้เรามาดูกันว่า สาเหตุหลักๆ มักเกิดจากอะไร ซึ่งบางครั้งปัญหาก็อาจจะมาจากตัวเราเอง
- เลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำที่สุด เจ้าของบ้านที่ตีราคาบ้านไม่เป็น มักจะเลือกจ้างผู้รับเหมารายที่เสนอราคาที่ต่ำที่สุด ไปๆมาๆ ผู้รับเหมาสู่สภาวะขาดทุน ได้ไม่คุ้มเสีย เลยทิ้งงานไป ซึ่งเจ้าของบ้านควรเปรียบเทียบราคาหลายๆ ราย เพื่อดูราคากลางที่สมเหตุสมผล
- ไม่ได้ตรวจสอบประวัติผู้รับเหมา ควรเช็คเครดิตผู้รับเหมา ให้มั่นใจก่อนทำสัญญาจ้าง แนะนำว่าควรเลือกผู้รับเหมาที่ได้รับการแนะนำการคนรู้จักที่วางใจได้ และเป็นผู้รับเหมาที่มีผลงานก่อสร้างอยู่จริง มีประวัติผลงานที่สามารถตรวจสอบได้
- ในสัญญาว่าจ้าง ไม่ครอบคลุม การทำสัญญาควรทำให้ละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ควรใช้เพียงแค่คำพูดในการสั่งงาน เพราะถ้าหากทำมาผิดจากที่ตกลงกัน ก็จะมีหลักฐานไว้สำหรับยืนยันกับผู้รับเหมาได้ หรือในกรณีที่เจ้าของบ้านเลือกใช้ผู้รับเหมา Local การคุยงาน หรือการปรับเปลี่ยนหน้างานนั้น ควรเจรจากับผู้รับเหมาที่ควบคุมงานโดยตรง และเจ้าของบ้านคนใดคนหนึ่ง ควรเป็นคนตัดสินใจ ในการประสานงานกับผู้รับเหมา เพื่อป้องกันปัญหาการสั่งงานซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
- ผู้รับเหมาบริหารจัดการงานไม่ดี ปกติเงินงวดแรกจะจ่ายประมาณ 30% หรือจ่ายค่ามัดจำก่อนเริ่มงาน 10% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด จากสัญญาว่าจ้างรวมค่าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้รับเหมาบางรายนั้น อาจจะวางเครดิตกับทางร้านวัสดุก่อสร้างไว้ ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบกับร้านค้าวัสดุ ว่าผู้รับเหมารายนั้นจ่ายเงินสด หรือเงินเชื่อค้างไว้ ถ้ามีเจตนาที่ไม่ดีทางร้านค้าวัสดุ สามารถเป็นหูเป็นตาได้อีกทางหนึ่ง
- ผู้รับเหมาเจอปัญหาไม่คาดคิดระหว่างก่อสร้าง มักเกิดจากเคสงานซ่อมแซม รีโนเวท เมื่อพอทำไป แล้วเจอปัญหาใหญ่กว่าที่คิด จึงกลัวทำไปแล้วขาดทุน เจ้าของบ้านกับผู้รับเหมา จึงควรต้องพูดคุยทำความเข้าใจ และปรับเรื่องราคาให้เหมาะสม ถ้อยทีถ้อยอาศัย
- ผู้รับเหมารับงานซ้อน ขอแนะนำให้เลือกใช้ผู้รับเหมาที่อยู่ในพื้นที่ เพราะผู้รับเหมาสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และประสิทธิภาพในการหมุนเวียนทีมงานได้ดีขึ้น
กรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานควรทำอย่างไร
ลูกค้าสามารถส่งเรื่องดำเนินคดีทางกฎหมาย หากผู้รับเหมาทิ้งงาน หรือทำงานไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้ได้ โดยลูกค้าสามารถบอกเลิกสัญญากับผู้รับเหมา และสามารถหาผู้รับจ้างรายใหม่เข้ามาทำได้ทันที แต่หากในกรณีที่ลูกค้าโอนจ่ายค่าดำเนินงานไปแล้ว มีการจ่ายค่างานไปแล้ว ลูกค้าสามารถเรียกเงินค่าดำเนินงานคืนได้ ในส่วนที่ผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างยังไม่ได้ทำ เช่น
คุณแก้วว่าจ้างให้ บริษัท A เข้ามาต่อเติมบ้าน โดยทางบริษัท A ได้เบิกเงินล่วงหน้าไปจำนวน 500,000 บาท แต่ต่อไปบริษัท A ทำผิดสัญญาจ้าง คุณแก้วจึงบอกเลิกสัญญา และว่าจ้างบริษัท B เข้ามาทำงานในส่วนที่บริษัท A ทำค้างไว้ โดยบริษัท A เพิ่งใช้งบไปทั้งหมด 300,000 บาท ทางบริษัท A จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาทแก่คุณแก้วซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งคุณแก้วก็สามารถเรียกค่าเสียหายจากบริษัท A ได้ เพราะทำให้คุณแก้วต้องยกเลิกสัญญา ต้องหาบริษัทอื่นมาทำแทน ทำให้งานล่าช้าค่ะ
กลับสู่สารบัญวิธีป้องกันผู้รับเหมาทิ้งงาน
- ตกลงให้ชัดเจน ขั้นตอนแรกก่อนเริ่มก่อสร้างนั้น ลูกค้าควรที่จะทำสัญญาตกลงกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการให้ชัดเจน ตรวจสอบแบบแปลน รายการบัญชีต่างๆ ที่ต้องใช้ โดยที่จะต้องแยกราคาแจงรายละเอียดของค่ารายการสิ่งของ และค่าแรงงานให้ชัดเจน และที่สำคัญที่สุดในการรับเหมาก่อสร้างนั้น จะต้องลงลายมือชื่อไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
- ตรวจสอบระหว่างการดำเนินงาน ในกรณีที่ลูกค้าว่าจ้างช่างรับเหมาทั่วไป ที่ไม่มีพนักงานคอยดูแลให้คำปรึกษา และคำแนะนำ และลูกค้าเองก็ไม่มีความรู้ด้านงานก่อสร้างเลย ลูกค้าควรจะว่าจ้างผู้ที่มีความรู้มาช่วยดูแล ให้คำตั้งแต่เริ่มทำสัญญา รวมถึงการควบคุมหน้างานก่อสร้างเลยก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้การดำเนินการก่อสร้าง เสร็จตามแผนงานได้ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสูง เพราะต้องจ้างคนมาควบคุมดูแลเพิ่ม จะดีกว่าหากลูกค้าว่าจ้างบริษัทรับเหมา ที่มีคนให้คำแนะนำ รวมถึงคนที่ควบคุมการก่อสร้าง และตรวจงานไว้แล้ว ทำให้ลูกค้าไม่ต้องยุ่งยากในการหาคนมาดูแลเพิ่ม
- การเบิกเงิน ในกรณีที่ผู้รับเหมาเบิกเงินบ่อยๆ ลูกค้าควรที่จะต้องตรวจสอบรายการที่ผู้รับเหมาเบิกจ่ายไปทั้งหมด ว่าตรงกันหรือไม่? งานมีความคืบหน้าไปอย่างไร? หากงานที่เสร็จกับรายการของที่เบิกจ่ายไปนั้นไม่ตรงกัน หรือสถานะงานไม่สัมพันธ์กันก็มีความเป็นไปได้สูงว่า ผู้รับเหมาอาจจะกำลังโกงท่าน หรือกำลังจะทิ้งงานค่ะ ควรนัดใหเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อหาทางออกร่วมกัน กับผู้รับเหมาว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่? การเจรจากันก่อนจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุ และวางแผนการแก้ปัญหากันต่อไป
- ร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่การเจรจาไม่เป็นผล หรือ ผู้รับเหมาเบี้ยวนัดไม่ยอมเจรจาด้วย ลูกค้าจะต้องร้องเรียนกับหน่วยงานรัฐเข้าช่วยเหลือ เพราะผู้รับเหมาเป็นฝ่ายทำผิดสัญญา ลูกค้าสามารถร้องเรียนได้กับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือฟ้องร้องศาลให้ดำเนินคดีได้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานก็เป็นปัญหาที่น่าปวดหัว สำหรับลูกค้า หรือผู้ว่าจ้างเสมอ ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ ลูกค้าควรที่จะใส่ใจ เวลาเลือกใช้บริการบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ มีพนักงานที่ให้คำปรึกษา ช่างที่มีความเชี่ยวชาญสูง และมีความน่าเชื่อถือสูงตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดที่สุด
เพราะลูกค้าก็จะไม่ต้องมานั่งรับเรื่องจุกจิกกวนใจ อีกทั้งยังไม่ต้องมานั่งตรวจงานเอง มีผู้ดูแลดำเนินการตรวจให้ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำทุกจุดทุกมุมอย่างละเอียด อีกทั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างนั้น ยังมีความเป็นมืออาชีพสูง มีหลักประกันหลังงานเสร็จ ที่หากงานไม่ตรงตามต้องการ หรือไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ บริษัทก็จะชดใช้ค่าเสียหาย หรือจ่ายค่าปรับให้อีกด้วยค่ะ
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำแนะนำในการสร้างบ้าน
หลายคนที่ฝันอยากมีบ้านสักหลัง ย่อมต้องการความคุ้มค่า ต้องการบ้านที่สวย ทนทาน สมราคา และที่สำคัญต้องเป็นผลงานจากบริษัทรับออกแบบบ้านและสร้างบ้านมือาชีพ คำว่า มืออาชีพ ต้องมีผลงานที่ถูกสร้างจากบริษัทจริงๆ ไม่ใช่เอารูปภาพจากของบริษัทอื่นมาเป็นผลงานของตนเอง ควรมีหลักแหล่งชัดเจนน่าเชื่อถือ ถูกกฏหมาย มีการรับประกันผลงาน การเรียกซ่อมแซม วัสดุสมราคา ประเด็นหนึ่ง ทีท่านไม่ควรมองข้ามคือวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง อย่ามองข้าม ท่านต้องใช้ความละเอียดถื่ถ้วนในการตรวจสอบรายการ วัสดุมาตรฐาน เป็นไปได้ให้ขอดูของจริงก่อนตกลงทำสัญญา
มีช่องทางให้เราตรวจสอบสถานะการทำงานอยู่ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง บ้านที่ถูกสร้างในพื้นที่ของเราย่อมมีสิทธิ์อันชอบธรรม ในการตรวจสอบการสถานะการทำงานเป็นระยะๆ สัญญารับสร้างบ้านที่ดี ต้องเปิดโอกาสให้เราเข้าไปตรวจสอบความคืบหน้าได้ และมีการแจ้งความคืบ หน้าแบบลายลักษ์อักษรต่อเจ้าของบ้าน
สัมผัสประสบการณ์ผลงานการก่อสร้างจริง
ผลงานคุณภาพที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ทั้งด้านวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง ความพร้อมในด้านต่างๆ ตลอดจนมีทีมงานที่มีประสบการณ์ ออกแบบบ้านได้สวยงาม มีเอกลักษณ์ และมีบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีการเน้นความรวดเร็วในการก่อสร้าง ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด